แลงใต้กันดีหวานิ ( พูดใต้กันดีกว่า )

  1. s
    s
    ภาษาทองแดง
    เดิมเป็นอีกชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากชื่อเดิมคือ "ภาษาตามโพร"
    สันนิษฐานว่าการตั้งชื่อนี้ มาจากชื่อของอาณาจักรตามพรลิงก์ (ตาม-พระ-ลิง)
    ซึ่งคำว่า ตามพร(ะ)- แปลว่าทองแดง (สันสกฤต: Tāmbra ตามพร, บาลี: Tāmba ตามพ)

    แต่ในปัจจุบัน คำว่าภาษาทองแดง หมายถึงผู้ที่มีภาษาแม่ เป็นภาษาตามโพร
    แล้วพูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด มีสำเนียงของภาษาตามโพรปะปน อยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน
    เรียกอาการนี้ว่า พูดตกทองแดง (ตามโพร: ทองแดงหล่น)


    ภาษาใต้ แบ่งแยกออกเป็น กลุ่มๆ ดังนี้

    - ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้
    บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง)
    ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง)
    ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และ สตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก
    แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)

    - ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต
    ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูด อยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้
    จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้
    สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ (สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่
    ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก
    แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้)

    - ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา
    บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา

    - ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
    จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย
    ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห
    นอกจากนี้ยังสามารถ แบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือ ภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน
    อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น

    ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องจากมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัย หรือทำงานในจังหวัดนราธิวาสกันมาก
    จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัด มาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส
    ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จาก จังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช
    คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
    ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส
    แต่ในเมืองมักจะพูด สำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก
  2. s
    s
    มะม่วงหิมพานต์ (cashew nut)
    - กาหยู, กาหยี = ระนอง ภูเก็ต พังงา
    - ยาร่วง, ย่าโห้ย, หัวครก = พัทลุง สงขลา
    - ม่วงเล็ดล่อ, ท้ายล่อ, ม่วงแตแหร = นราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะอำเภอยะหริ่ง ปะนาเระ และสายบุรี)
  3. s
    s
    ละมุด (Lamut)
    - ซ่าว้า มาจาก sawa ในภาษามลายู = สงขลา สตูล พัทลุง
    - หม่าซี้กู๊ = พังงา ตะกั่วป่า
    - มุดรั่ง = นครศรีธรรมราชขึ้นไป
  4. s
    s
    สับปะรด (Pineapple)
    - หย่านัด = คำนี้ใช้ทั่วไปทั้งภาคใต้ บางครั้งจะออกเสียงเป็นหย่าน-หัด
    - มะ-หลิ = ในเขตจังหวัดพัทลุง และอำเภอรัตภูมิ อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด ของจังหวัดสงขลา
  5. bookerian
    bookerian
    ขอบคุณค่ะที่นำความรู้ ภาษาใต้ มาเล่าให้ฟัง
    อ่านแล้วคิดถึงเพื่อน เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช กับ กระบี่
    เวลาแลงใต้กันที คนแอบฟังก็งงกันไป

    อีกอย่างชอบเพลงสำเนียงภาษาใต้ค่ะ รู้สึกเพราะ
  6. s
    s
    Quote Originally Posted by bookerian View Post
    ขอบคุณค่ะที่นำความรู้ ภาษาใต้ มาเล่าให้ฟัง
    อ่านแล้วคิดถึงเพื่อน เป็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช กับ กระบี่
    เวลาแลงใต้กันที คนแอบฟังก็งงกันไป

    อีกอย่างชอบเพลงสำเนียงภาษาใต้ค่ะ รู้สึกเพราะ
    อุ้ย...แปลว่าชอบฟัง คนใต้เค้าพูดกันใช่ไหมค่ะ
    เอสยินดีและเต็มใจ นำภาษาบ้านเกิดมาเผยแพร่ ให้คนได้รู้จักกันมากขึ้นค่ะ
  7. s
    s
    มาแหลงใต้กันเหลยดีหวา = มาพูดใต้กันอีกดีกว่า

    ทำเฒ่า = ยุ่ง จุ้นจ้าน

    จังเสีย = มากมาย

    ลุย = เยอะ

    ขาดหุ้น = คนที่มีจิตไม่สมประกอบ, ปัญญาอ่อน
Results 1 to 7 of 7