"น้ำตาล" วิกฤต ส่อขาดแคลนและแพง ... อีกหนึ่งปัญหาที่หมักหมม หาก ผู้ที่ควรรับผิดชอบ ไม่ รับผิดชอบ อนาคตเกษตรกร "น้ำตาล" จะเป็นเช่นใด

  1. itasian
    itasian
    นำข่าว "น้ำตาล" มาเพิ่มเติม จากที่ได้ลงกระทู้

    อนาคต "ตาล" เมืองเพชร ... อนาคตน้ำตาลโตนดที่ดีที่สุดในประเทศไทย



    นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โมเดิร์นเทรดบิดเบือนกลไกตลาดน้ำตาลทรายของประเทศและทำลายระบบโชห่วยขณะนี้ เพราะนำน้ำตาลทรายถุงกิโลกรัมไปวางขายทั่วประเทศในราคาเท่ากันหมด โดยใช้น้ำตาลเป็นตัวดึงผู้บริโภคเข้าห้างต่ำกว่าราคาน้ำตาลทรายอ้างอิงที่ พาณิชย์กำหนดในต่างจังหวัดมาก ทั้งที่ข้อเท็จจริงวันนี้ ราคาน้ำตาลทรายที่ผ่านยี่ปั๊ว-ซาปั๊วไปนั้น ต้นทุนจะต้องสูงกว่าพาณิชย์ด้วยซ้ำ ทำให้คนเข้าไปซื้อในห้างแม้แต่ร้านโชห่วยเองก็ต้องเข้าไปซื้อ

    "การที่พาณิชย์ไปตรวจห้างแล้วน้ำตาลขาดมันแน่นอนอยู่แล้ว แต่มันเป็นดัชนีชี้วัดว่าน้ำตาลพอหรือไม่พอไม่ได้ เพราะโมเดิร์นเทรดบิดเบือนกลไกตลาดโดยสิ้นเชิง แล้วยังมีหน้ามาร้องขอน้ำตาลเพิ่ม มีเหตุผลหรือไม่ ถ้าอยากได้เพิ่มก็น่าจะไปบรรจุขายเอง" นายกำธรกล่าว


    น้ำตาลวิกฤติส่อขาดแคลนและแพง อุตฯเพิ่มโควตาก.โยนพาณิชย์คุมราคา

    ขอขอบคุณ ข่าวจากหน้าเวบ BIOTHAI เมื่อ 01 มี.ค. 2011

    ก.อุตสาหกรรมพร้อมเพิ่มน้ำตาลโควตา ก.รับมือน้ำตาลขาดแคลน โยนเรื่องราคาแพงต้องถามพาณิชย์เพราะเป็นหน้าที่โดยตรง ฟากพาณิชย์แฉน้ำตาลถูกลักลอบไปขายเพื่อนบ้าน

    นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงกรณีที่มี กระแสข่าวว่าน้ำตาลทรายในตลาดขาดแคลนและมีราคาแพง ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนรองรับไว้แล้วเพราะหากปริมาณน้ำตาลทรายเพื่อการ บริโภคภายในประเทศ (โควตา ก.) ไม่พอจริง ก็สามารถพิจารณาปรับเพิ่มน้ำตาลโควตา ก.จากปัจจุบันที่อยู่ 25 ล้านกระสอบได้ และขณะนี้พบว่ายังมีปริมาณน้ำตาลเหลือค้างกระดานที่รอการขึ้นงวดอยู่ 1.6 ล้านกระสอบ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปกติ

    "ต้องเข้าใจว่ากระทรวงอุตสาหกรรมเป็นฝ่ายผลิต ซึ่งที่ผ่านมาก็ติดตาม ตลอด ซึ่งหากปริมาณน้ำตาลค้างกระดานเหลือต่ำกว่า 1 ล้านกระสอบเมื่อไหร่ ก็พร้อมพิจารณาเพิ่มโควตา ก.ให้ แต่ถ้าพิจารณาเพิ่มให้ตอนนี้ก็ไม่มีเหตุผลพอ หรือไม่ก็ตั้งจุดกระจายน้ำตาล ในต่างจังหวัดเปิดขายตรงให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นผู้ดำเนินการเหมือนที่ผ่านมา รวมทั้งพิจารณาใบอนุญาตขนย้ายให้เร็วขึ้น" นายชัยวุฒิกล่าว

    นายชัยวุฒิกล่าวถึงกรณีที่มีการร้องเรียนว่า ราคาน้ำตาลทรายอยู่ระดับ 30-35 บาทต่อกิโลกรัม ว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องควบคุมเพราะอุตสาหกรรมมีหน้าที่ดูแล การผลิต ซึ่งหากเราไปเร่งเพิ่มโควตา ก.ให้ตอนนี้ก็เท่ากับว่าจะไปเข้าทางใคร ส่วนหากกระทรวงพาณิชย์จะขอโควตาน้ำตาลพิเศษเพิ่มอีกนั้นก็คงต้องหารือกันอีก ที เพราะตอนนี้น้ำตาลโควตาเดิมที่ให้ไปก็ยังไม่หมด

    ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ราคาน้ำตาลทรายในขณะนี้เป็นการเริ่มส่งสัญญาณว่าต้นทุนราคาน้ำตาลที่สะท้อน ต้นทุนอยู่ที่ 25-26 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนที่บอกว่าน้ำตาลราคา 30 บาทต่อกิโลกรัมนั้น อาจจะเป็นน้ำตาลชนิดพิเศษที่ไม่มีการควบคุมราคา และเชื่อว่าคงไม่มีใครกล้ากักตุนน้ำตาลทรายไว้ปริมาณมากๆ แน่ เพราะขณะนี้เริ่มมีการส่งสัญญาณแล้วว่าราคาน้ำตาลในอนาคตจะมีการปรับลด ลง

    รายงานจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งอีกว่า สาเหตุที่น้ำตาลทรายขาดตลาดได้เกิดขึ้นมาเป็นปีแล้ว เพราะขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีราคาสูงกว่าราคาขายปลีกในประเทศ ทำให้เกิดการลักลอบส่งออกโดยเฉพาะการนำไปขายในประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลทรายได้มาแย่งซื้อน้ำตาลทรายโควตา ก.เพราะต้นทุนถูกกว่า ก็ยิ่งทำให้น้ำตาลหายไปจากตลาด

    นายฉัตรชัย ชูแก้ว ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ และโฆษกกระทรวงพาณิชย์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวว่า นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ได้กำชับให้แจ้งปัญหาน้ำตาลทรายขาดแคลนและราคาแพงไปยังกระทรวง อุตสาหกรรม เพื่อให้เร่งผลิตและกระจายน้ำตาลเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่กระทรวงพาณิชย์จะพยายามประสานนำน้ำตาลทรายไปจำหน่ายตามจุดขาดแคลน หรือมีราคาแพง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

    นางสาวสุวรรณดี ไชยวรุตม์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ที.ซี.ฟาร์มมาซูติคอล อุตสาหกรรมจำกัด ผู้ผลิตชาขาวพร้อมดื่มภายใต้ชื่อ "เพียวริคุ" เปิดเผยว่า ภาพรวมต้นทุนวัตถุดิบในขณะนี้ยอมรับว่ายังมีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่องโดยเฉพาะราคาเม็ดพลาสติกและน้ำตาล ส่งผลให้บริษัทต้องมีการปรับแผนการดำเนินงานใหม่ด้วยการหันมาสั่งซื้อวัตถุ ดิบล่วงหน้า พร้อมกับผลิตสินค้าให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงของตลาดเพื่อลด ต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากบริษัทยังไม่มีแผนที่จะปรับราคาสินค้าขึ้นในขณะนี้ และคาดว่าจะยังคงตรึงราคาสินค้าไปจนถึงสิ้นปี เพราะเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการปรับราคาสินค้าขึ้นมาแล้วหนึ่งครั้ง




    คุมเข้มน้ำตาล สกัดลักส่งออก หวั่นเติมวิกฤติ

    ขอขอบคุณ ข่าวจากหน้าเวบ BIOTHAI เมื่อ 03 มี.ค. 2011

    "เทือก" รับภาพแย่งซื้อน้ำมันปาล์ม รัฐบาลเสียหาย สั่ง "วิเชียร" กำชับทุก สน.สแกนเข้ม ผวา! "น้ำตาล-นม" ซ้ำเติมวิกฤติ หลังราคาตลาดโลกพุ่ง แต่ตลาดในประเทศราคาไม่ขยับ "ชัยวัฒน์" ยันไม่ขาดแคลนความหวานแน่ สั่งเพิ่มโควตาในโมเดิร์นเทรด ลุยสอบสต็อกโรงงานเมืองกาญจน์

    ภาพการแย่งซื้อน้ำมันปาล์มในต่างจังหวัด รวมถึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มปรับราคายังเป็นปัญหาที่หลายฝ่าย ให้ความกังวล เพราะมีผลกระทบในวงกว้าง โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติยอมรับถึงภาพการแย่งซื้อน้ำมัน ว่า ไม่ดีต่อรัฐบาล และได้สั่งการไปแล้ว รวมถึงสั่งการไปที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ทุกโรงพักทุกท้องที่ดูว่าถ้ามีใครเอาน้ำมันปาล์มไปขายต่อในราคาที่ แพงกว่าลิตร 47 บาท ให้จับกุมดำเนินคดีได้ทันที

    นายสุเทพยังกล่าวถึง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีราคาสูงขึ้นว่า เรื่องเหล่านี้ก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จะต้องไปดูแล โดยได้รับมอบหมายให้มาดูเฉพาะบางเรื่องที่เป็นวิกฤติเท่านั้น แต่รัฐบาลก็กังวลใจ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็เป็นห่วงและติดตามเป็นพิเศษ ทั้งน้ำมัน น้ำตาลหรือไข่ไก่ ซึ่งก็พยายามดูว่าการขึ้นราคาสินค้า หากต้นทุนแพงขึ้นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่หากฉวยโอกาสก็ต้องดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องน้ำตาล ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ชี้แจงต่อนายกฯ แล้วว่ามีปัญหาเรื่องต้นทุน และจะไปแก้ไข ซึ่งสิ่งที่กังวลคือน้ำตาลรอบๆ ประเทศเรามีราคาสูงขึ้นหมดแล้ว ดังนั้นก็ต้องดูด้วย ไม่เช่นนั้นอาจมีคนนำน้ำตาลในประเทศไปขายต่างประเทศได้ ก็จะยุ่งอีก

    นาง พรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า มีนโยบายให้กรมการค้าภายในดูแลการจำหน่ายน้ำมันปาล์มให้เป็นธรรม และขอเตือนผู้ค้าทุกช่วงการค้าให้จำหน่ายน้ำมันปาล์มในราคาที่กำหนด พร้อมปิดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจน รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลไม่ให้ลักลอบนำน้ำมันปาล์มจุกสีชมพู ออกนอกราชอาณาจักร โดยหากประชาชนพบเห็นการจำหน่ายน้ำมันปาล์มเกินราคา กักตุนสินค้า ปฏิเสธการจำหน่าย หรือมีพฤติกรรมทำให้น้ำมันขาดตลาด แจ้งสายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 ผู้แจ้งจะได้รับเงินสินบนนำจับ 25% ของค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระต่อศาล

    สำหรับปัญหาเรื่องน้ำตาล นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือไปยัง 4 โรงงานน้ำตาลทรายที่ผลิตน้ำตาลทรายบรรจุถุง 1 กิโลกรัม (กก.) จำหน่ายให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (โมเดิร์นเทรด) ได้แก่ น้ำตาลมิตรผล ไทยรุ่งเรือง วังขนาย และคอนบุรี ในการเพิ่มปริมาณน้ำตาลจากปีที่แล้วที่ส่งมอบ 105 ล้านถุง เป็น 266 ล้านถุง (2.66 แสนตัน)

    แหล่งข่าวจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล กล่าวว่า การบรรจุน้ำตาลทรายขายถุง กก.ขาดทุน เพราะค่าแพ็กเกจ และต้นทุนการบรรจุที่แพง แต่กระทรวงพาณิชย์กลับไม่ให้ปรับราคาขายเพิ่ม

    นายธีระชัย แสนแก้ว นายกสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ กล่าวว่า ชาวไร่อ้อยไม่เห็นด้วยที่จะพิจารณาเพิ่มปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) จากที่ปีนี้กำหนดไว้ที่ 25 ล้านกระสอบ เพราะปริมาณน้ำตาลทรายที่กำหนดไว้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 3 ล้านกระสอบ ซึ่งถือว่าสูงอยู่แล้ว และขณะนี้น้ำตาลทรายยังเหลือที่จะขึ้นกระดานอีกถึง 20 ล้านกระสอบ หรือเฉลี่ยเดือนละ 2 ล้านกระสอบ หากขายไม่หมดก็จะกระทบราคาอ้อย และหากเพิ่มโควตา ก. ไปอีก 3 ล้านกระสอบตามข่าวจริง ก็เท่ากับชาวไร่จะสูญรายได้เข้าระบบประมาณ 3,000 ล้านบาท

    “น้ำตาลทรายตลาดโลกราคาเฉลี่ยที่ 800 ดอลลาร์ต่อตัน หรือ 24 บาทต่อ กก. เทียบกับในประเทศที่ควบคุมหน้าโรงงาน 14-15 บาทต่อ กก. หากดึงน้ำตาลที่จะส่งออกมาขายในประเทศ 3 ล้านกระสอบ ก็เท่ากับสูญรายได้ 3,000 ล้านบาท” นายธีระชัยกล่าว


    แหล่งข่าวจากแวดวงน้ำตาล กล่าวว่า หากพิจารณาตัวเลขบริโภคน้ำตาลทรายที่สูงสุดช่วง ม.ค. ที่มีการใช้ถึง 5.1 แสนกระสอบต่อสัปดาห์นั้น ระยะเวลาที่เหลือ 10 เดือน หากมีการใช้ในอัตราสูงสุดเช่นกันก็เพิ่มโควตา ก. เพียง 1.5 ล้านกระสอบก็เพียงพอ เนื่องจากยังมีปริมาณน้ำตาลเหลือค้างกระดานจากปีที่แล้วอีก 1.5 ล้านกระสอบ

    นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการ สอน. กล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสต็อกในโกดังน้ำตาลทรายในโรงงานทั่ว ประเทศ 46 แห่ง ว่ามีปริมาณที่ใกล้เคียงกับตัวแทนที่แจ้งไว้กับ สอน.หรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบส่งออก หรือการกักตุน โดยในวันที่ 3 มี.ค. นายชัยวุฒิจะนำร่องตรวจสอบที่จังหวัดกาญจนบุรีก่อน

    “เบื้อง ต้นได้รับรายงานว่าปริมาณน้ำตาลทรายค้างกระดาน ซึ่งเป็นน้ำตาลที่มีการซื้อขายและพร้อมนำไปจำหน่ายในตลาดมีกว่า 1.4 ล้านกระสอบ ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงเพียงพอต่อความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายในประเทศ แต่เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชนจึงต้องตรวจสอบให้ชัดเจน” นายประเสิรฐกล่าว

    เขาระบุว่า การลักลอบส่งออกนั้นเชื่อว่าโรงงานน้ำตาลไม่กล้าทำ แต่กลุ่มยี่ปั๊วและซาปั๊วอาจมีบ้าง โดยลักลอบขายในลาว, กัมพูชา และพม่า โดยเฉพาะในด่านแม่สอด ที่ จ.ตาก และด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการของกองทัพมด ซึ่งภาพรวมของน้ำตาลยืนยันว่าจะไม่ขาดแคลน แต่จะมีปัญหาบ้างในห้างโมเดิร์นเทรด ซึ่งก็ได้เพิ่มปริมาณแล้ว

    นาย ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า ใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 พบว่ามีการลักลอบส่งออกน้ำตาลตามชายแดนมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณตะวันออกที่ติดกับกัมพูชาที่มีการลักลอบนำออกเป็นพิเศษ และตามแนวชายแดนลาวที่มีบ้างเล็กน้อย ซึ่งที่จับกุมได้มีลักษณะเป็นกองทัพมด

    “ข้อมูลช่วง 4 เดือนแรก มีการลักลอบนำน้ำตาลออก 6 ราย จำนวน 3.03 หมื่นกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 5.3 แสนบาท สูงกว่าทั้งปีงบประมาณ 2553 เกือบเท่าตัว” นายประสงค์กล่าว และว่า การลักลอบนำน้ำตาลออกมาก เพราะส่วนต่างราคามีสูง โดยหากลักลอบนำออกไปขายจะได้กำไรต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้นถึง 6 บาท

    ส่วนการปรับราคานมนั้น นายสุรชาติ คหินทพงษ์ ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น ระบุว่า ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อนจากต้นทุนที่สูงขึ้นมาก โดยเฉลี่ย 30-35% ซึ่งได้ยื่นเรื่องไปยังกระทรวงพาณิชย์เพื่อขอปรับขึ้นราคาแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการหันไปส่งออกน้ำนมดิบไปต่างประเทศแทน เพราะได้ราคาดีกว่า และอาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาดเหมือนกับปัญหาน้ำตาลทรายได้

    นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงกรณีผู้ผลิตนมสดพร้อมดื่มเตรียมขอปรับขึ้นราคาว่า ขอให้ผู้ประกอบการจัดทำข้อมูลผลกระทบการขึ้นน้ำนมดิบที่มีต่อต้นทุนให้กรม พิจารณา และหลังจากนั้นนำเสนอนางพรทิวา โดยจะพิจารณาผลกระทบอย่างเป็นธรรม ช่วงนี้ขอให้ผู้ผลิตรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรเป็นปกติ อย่าอ้างว่ากระทรวงไม่ยอมให้ขึ้นราคา และไปบีบเกษตรกรต่อ เพราะกระทรวงพร้อมดูแลผลกระทบให้

    นางวัชรียังกล่าวถึงการปรับขึ้นราคาน้ำมันถั่วเหลืองว่า กำลังให้เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบสต็อก รวมถึงผลกระทบราคาถั่วเหลืองในตลาดโลก เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนให้รอบด้านก่อนการปรับขึ้นราคา

    แหล่งข่าวจากผู้ค้าน้ำมันถั่วเหลือง กล่าวว่า ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองได้ขอแจ้งให้พิจารณาขึ้นราคา 2 ระยะ คือ ระยะแรกปรับขึ้นทันทีจากขวดละ 46 บาท เป็น 49 บาท เพราะปกติน้ำมันถั่วเหลืองจะแพงกว่าน้ำมันปาล์ม แต่ปัจจุบันกลับถูกกว่า ทำให้คนแห่ซื้อจนเกิดขาดแคลน ดังนั้นจึงขอปรับราคาขึ้นไปใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ตอนนั้นน้ำมันปาล์ม 47.50 บาท น้ำมันถั่วเหลือง 49 บาท ส่วนระยะต่อมาขอให้ปรับขึ้นตามต้นทุนแท้จริง เพราะราคาถั่วเหลืองในตลาดโลกปรับขึ้นแล้วกว่า 13%




    กระทุ้งพาณิชย์ขึ้นราคาน้ำตาลถุง ขอขาย25บาทชาวไร่จวกค้าปลีก

    ขอขอบคุณ ข่าวจากหน้าเวบ BIOTHAI เมื่อ 14 มี.ค. 2011

    น้ำตาลติดแบรนด์ชงพาณิชย์ขอขึ้นค่าบรรจุภัณฑ์ถุงกิโลกรัมเพิ่มอีก 1.40 บาทต่อถุง หลังแบกภาระขาดทุนส่ง ชี้ราคาขายปลีกเป็นถุงละ 25 บาท จวกชาวไร่ จวกโมเดิร์นเทรด บิดเบือนราคาน้ำตาลถุงขาย

    แหล่งข่าวจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ขณะนี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายได้ทำหนังสือไปยังนางพรทิวา นาคาศัย รมว.กระทรวง พาณิชย์ เพื่อขอปรับขึ้นค่าบรรจุภัณฑ์น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ที่มีการบรรจุถุงปริมาณ สุทธิ 1 กิโลกรัม (กก.) ที่มีเครื่องหมายทางการค้าของผู้ผลิต (แบรนด์) จากเดิมที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการกำหนดให้คิดค่าบรรจุ ภัณฑ์ไม่เกิน กก.ละ 0.75 บาท เพิ่มอีกไม่เกิน กก.ละ 1.40 บาท หรือรวมเป็นค่าบรรจุภัณฑ์ที่ กก.ละไม่เกิน 2.15 บาท

    ทั้งนี้ เนื่องจากต้นทุนบรรจุภัณฑ์และค่าแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดแรงจูงใจในการขายน้ำตาลบรรจุถุงกิโลกรัม เพราะการลงทุนเครื่องจักรในการบรรจุต้องลงทุนอย่างต่ำ 10 ล้านบาทขึ้นไป แต่พาณิชย์กลับคิดต้นทุนเพียง 0.75 บาทต่อถุงเท่านั้น ดังนั้น ราคาขายปลีกในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลควบคุมไว้ รวมค่าบรรจุภัณฑ์ของน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ขณะนี้จึงอยู่ที่ 23.60 บาทต่อถุง ซึ่งหากปรับค่าบรรจุถุงเป็น 1.40 บาท ก็จะมีผลต่อราคาขายเพิ่มเป็นถุงละ 25 บาท ซึ่งระดับดังกล่าวจะจูงใจให้มีโรงงานน้ำตาลทรายมาบรรจุเพิ่มขึ้น

    ปัจจุบัน มีผู้ทำตลาดน้ำตาลทรายถุง กก.เพียง 4 ราย ที่จำหน่ายให้กับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (โมเดิร์น
    เท รด) ทั้งบิ๊กซี โลตัส คาร์ฟูร์ รวมถึงเซเว่น-อีเลฟเว่น ฯลฯ ได้แก่ กลุ่มน้ำตาลมิตรผล ภายใต้แบรนด์ "มิตรผล" ซึ่งเป็นรายใหญ่สุด น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ภายใต้แบรนด์ "ลิน" กลุ่มวังขนายภายใต้แบรนด์ "วังขนาย" และบริษัท น้ำตาลคอนบุรี ภายใต้แบรนด์ "KBS" ที่เพิ่งจะเริ่มทำตลาดในคาร์ฟูร์

    นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า หากกระทรวงพาณิชย์ต้องการให้มีน้ำตาลทรายบรรจุถุงกิโลกรัมขายในห้างมากขึ้น ก็ควรจะปรับราคาค่าบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นอีก 1.40 บาทต่อถุง เพราะระดับ 0.75 บาทต่อถุงนั้นเป็นอัตราที่ต่ำมาก หากต้องซื้อเครื่องจักรใหม่มาลงทุนจะขาดทุนทันที

    "ถ้าวันนี้เขามีกำไรจริง เชื่อว่าจะมีคนลงมาเล่นตลาดนี้อีกมาก เหมือนกับข้าวถุงที่ขณะนี้มีเป็น 10 ยี่ห้อในห้าง แต่น้ำตาลมีแค่ 3 ยี่ห้อหลักๆ เท่านั้น แม้ตัวโมเดิร์นเทรดเอง สินค้าอื่นๆ จะนำมาทำเป็นแบรนด์ของตนเองยกเว้นน้ำตาลเพราะไม่คุ้มครับ ซึ่งมิตรผลวันนี้ก็ผลิตเต็มกำลังเครื่องจักรที่มีแล้ว ถ้าจะเพิ่มก็ต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ไม่คุ้ม อย่างของเก่ามันนานแล้วและเราก็ต้องการสร้างแบรนด์เท่านั้น" นายคมกริชกล่าว

    นายกำธร กิตติโชติทรัพย์ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โมเดิร์นเทรดบิดเบือนกลไกตลาดน้ำตาลทรายของประเทศและทำลายระบบโชห่วยขณะนี้ เพราะนำน้ำตาลทรายถุงกิโลกรัมไปวางขายทั่วประเทศในราคาเท่ากันหมด โดยใช้น้ำตาลเป็นตัวดึงผู้บริโภคเข้าห้างต่ำกว่าราคาน้ำตาลทรายอ้างอิงที่ พาณิชย์กำหนดในต่างจังหวัดมาก ทั้งที่ข้อเท็จจริงวันนี้ ราคาน้ำตาลทรายที่ผ่านยี่ปั๊ว-ซาปั๊วไปนั้น ต้นทุนจะต้องสูงกว่าพาณิชย์ด้วยซ้ำ ทำให้คนเข้าไปซื้อในห้างแม้แต่ร้านโชห่วยเองก็ต้องเข้าไปซื้อ

    "การที่พาณิชย์ไปตรวจห้างแล้วน้ำตาลขาดมันแน่นอนอยู่แล้ว แต่มันเป็นดัชนีชี้วัดว่าน้ำตาลพอหรือไม่พอไม่ได้ เพราะโมเดิร์นเทรดบิดเบือนกลไกตลาดโดยสิ้นเชิง แล้วยังมีหน้ามาร้องขอน้ำตาลเพิ่ม มีเหตุผลหรือไม่ ถ้าอยากได้เพิ่มก็น่าจะไปบรรจุขายเอง" นายกำธรกล่าว


    ขอขอบคุณรูป จาก
    1.http://www.thaisugarmill.com/index.php?lang=th&ds=news_detail-view&id=hx1gbtdytn6acgur
    2.http://gotoknow.org/blog/koogger/256135
    3.http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=82572
    4.http://oldweb.ocsb.go.th/showcontent.asp?head_id=25&id=569
  2. Euphrates
    Euphrates
    ยังไม่ได้อ่านทั้งหมดค่ะ อ่านแค่ตอนต้น ขอคอมเม้นก่อน ...อ่านแล้วก็เศร้าอ่ะ ประเทศเรา เหมือนทำร้ายกันเอง

    เคยเรียนตั้งแต่สมัยมัธยม ..ก็นานนนนมาแล้ว เรื่องปัญหาอ้อย ชาวไร่อ่อย ราคาน้ำตาล

    มาตอนนี้ปัญหาก็ยังอยู่...
  3. itasian
    itasian
    นำความรู้ โควต้าน้ำตาล มาฝากครับ
    จากหน้าเวบ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย


    น้ำตาลโควตา ก. โควตา ข. โควตา ค คือ อะไร

    น้ำตาลโควตา ก. คือ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลชนิดอื่นๆ ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้ผลิตสำหรับบริโภคภายในประเทศ สำหรับปี 2550/2551 กำหนดไว้ที่จำนวน 19 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กิโลกรัม)

    น้ำตาลโควตา ข. คือ น้ำตาลทรายดิบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้ผลิตเพื่อส่งมอบให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ส่งออกและจำหน่ายไปยังต่างประเทศ จำนวน 8 แสนตันเพื่อใช้ทำราคาในการคำนวณราคาน้ำตาลส่งออก

    น้ำตาลโควตา ค. คือ ปริมาณน้ำตาลส่งออกไปต่างประเทศ เป็นส่วนที่เหลือโดยหักน้ำตาลโควตา ก และโควตา ข ออกจากปริมาณน้ำตาลที่ผลิตได้ทั้งหมด
    มูลค่าการผลิตและรายได้ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย

    อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นแหล่งสร้างงานแก่เกษตรชาวไร่อ้อยและแรงงานเก็บเกี่ยวอ้อยในชนบทกว่า 600,000 คน ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกและจำหน่ายน้ำตาลทรายให้ประเทศกว่าปีละ 80,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการส่งออกมากกว่าการบริโภคภายในประเทศ ประมาณ 2 ใน 3 ของผลผลิตน้ำตาล

    น้ำตาลโควตา ก. โควตา ข. โควตา ค คือ อะไร

    น้ำตาลโควตา ก. คือ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลชนิดอื่นๆ ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้ผลิตสำหรับบริโภคภายในประเทศ สำหรับปี 2550/2551 กำหนดไว้ที่จำนวน 19 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กิโลกรัม)

    น้ำตาลโควตา ข. คือ น้ำตาลทรายดิบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้ผลิตเพื่อส่งมอบให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ส่งออกและจำหน่ายไปยังต่างประเทศ จำนวน 8 แสนตันเพื่อใช้ทำราคาในการคำนวณราคาน้ำตาลส่งออก

    น้ำตาลโควตา ค. คือ ปริมาณน้ำตาลส่งออกไปต่างประเทศ เป็นส่วนที่เหลือโดยหักน้ำตาลโควตา ก และโควตา ข ออกจากปริมาณน้ำตาลที่ผลิตได้ทั้งหมด


    ราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศ

    ราคาน้ำตาลภายในประเทศมีกระทรวงรับผิดชอบทั้งหมด 2 กระทรวง คือ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นผู้กำหนดราคาน้ำตาลทราย ณ หน้าโรงงาน ส่วนกระทรวงพาณิชย์ โดยคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและบริการ เป็นผู้กำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายขายปลีก

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ราคาขายส่ง ณ หน้าโรงงานสำหรับน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์กำหนดไว้ที่ 1,100 และ 1,200 บาทต่อกระสอบ ส่วนราคาขายปลีกกำหนดไว้ที่ 12 และ 13 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และมีการปรับขึ้นราคาเพื่อแก้ไขสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาที่สำคัญ ดังนี้

    1. พ.ศ. 2541 ได้มีการปรับเพิ่มราคาขายปลีกเป็น 12.50 และ 13.50 บาทต่อกิโลกรัม
    2. พ.ศ. 2543 ได้มีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าทุกประเภท 7% เป็นผลให้ราคาขายส่งน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาล ทรายขาวบริสุทธิ์ปรับเป็น 1,177 และ 1,284 บาทต่อกระสอบ ตามลำดับ ส่วนราคาขายปลีกอยู่ที่ 13.25 และ 14.25 บาทต่อกิโลกรัม

    3. พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานอีก 3 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อแก้ปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เนื่องจากต้นทุนการผลิตอ้อยของไทยสูงขึ้น และราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดการลักลอบนำน้ำตาลทรายไปขายประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ราคาน้ำตาลทรายขาวหน้าโรงงานอยู่ที่ 14 บาทต่อกิโลกรัม ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ 15 บาทต่อกิโลกรัม และราคาขายปลีกอยู่ที่ 17.50 บาท และ 18.50 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ

    4. ครั้งล่าสุดเมื่อ เมษายน 2551 คณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานอีก 5บาทต่อกิโลกรัมเพื่อแก้ปัญหาราคาอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยที่มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ราคาน้ำตาลทรายขาวหน้าโรงงานอยู่ที่ 19 บาทต่อกิโลกรัม ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม และราคาขายปลีกน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ระดับ 21.50 บาทและ 22.50 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
  4. bit
    bit
    เพิ่งอ่านกระทู้ ชาวเน็ตฯ จีน ยกย่องวินัยฯ ญี่ปุ่นในยามวิกฤติ ของคุณ itasian จบ

    แล้วมาอ่านกระทู้นี้ต่อ เหมือนสิ่งที่รู้สึกโดนกระชากกลับ 180 องศา ยิ่งกว่าเลี้ยวโค้งหักศอก

    อ่านแล้วมันก็ เฮ้ออ............................. สุดจะบรรยาย ไร้ซึ่งคอมเมนต์

    ขอบคุณ คุณ itasian ครับ ที่นำข่าวมาฝากครับ
Results 1 to 4 of 4