puttachart

การซิทอัพเพื่อลดพุง

Rate this Entry
เพื่อให้การซิทอัพไม่เจ็บหลัง ท่านอาจใช้ตัวช่วยโดยเลือก เบาะซิทอัพ เพื่อช่วยพยุงหลัง

การซิท-อัพโดยยกตัวขึ้นไปสูงเกิน 1 ฟุต (คิดที่ระดับไหล่) ทำให้ใช้กล้ามเนื้อหน้าขามาก ใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องน้อยลง
ทางที่ดีคือ ยกตัวขึ้นไปช้าๆ ถึงจุดที่ระดับไหล่สูงจากพื้น 1 ฟุต แล้วลดระดับลงช้าๆ

(1). นอนหงายบนพื้น

ถ้ามี เบาะซิทอัพ จะช่วยให้ทำได้ง่ายขึ้น

(2). งอเข่า

งอเข่าเล็กน้อย ให้ส้นเท้าแตะพื้น

(3). วางมือบนหน้าอก

การวางมือไว้ที่ท้ายทายอาจทำให้เกิดแรงกระชากต่อกระดูกส่วนคอ ทำให้ปวดคอหรือปวดหัวได้

(4). ยกหัวขึ้นช้าๆ

ยกหัวขึ้นช้าๆ จนระดับหัวไหล่สูงกว่าพื้นประมาณ 1 ฟุต (12 นิ้ว) แล้วลดระดับหัวไหล่ลงช้าๆ

(5). ทำช้าๆ

ทำช้าๆ 10 ครั้งเป็น 1 ชุดหรือเซ็ต (set)
พัก 2-3 วินาที
ทำซ้ำอีก 2 เซ็ตหรือชุด

(6). ถ้าต้องการให้กล้ามท้องแข็งแรงมากๆ

ควรทำท่า “ซิท-อัพ” แบบนี้ให้ได้ 3 ชุดๆ ละ 10 ครั้ง อย่างน้อย 1 สัปดาห์เสียก่อน
หลังจากนั้นให้เพิ่มน้ำหนักเบาๆ วางไว้บนอก

เรื่องที่น่าสนใจคือ คนไข้ที่มีอาชีพทำงานก่อสร้างเกือบทุกรายก็ซิท-อัพไม่ขึ้นเช่นกัน นี่เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการแก้ปัญหาสุขภาพแบบไทยๆ คือ เป็นอะไรก็ใช้ยา ไม่ได้ดังใจก็โทษหมอ ทั้งๆ ที่โรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่ รวมทั้งโรคปวดหลัง จำเป็นต้องอาศัยวินัยในการใช้ชีวิต เช่น ออกแรง-ออกกำลัง ควบคุมน้ำหนัก กินอาหารให้พอดี (ไม่มากเกิน) ฯลฯ

โรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ฯลฯ นั้น… วินัยในการใช้ชีวิตมีบทบาทต่อความสำเร็จในการรักษามากขึ้น ยาอย่างเดียวไม่ค่อยได้ผลเท่าไร


การทำกายบริหารในท่าซิทอัพ (sit-ups) นั้นมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรง ป้องกันโรคปวดหลัง ทว่า… ลดไขมันในช่องท้อง หรือภาวะ “ลงพุง” ได้น้อย ยกเว้นทำซิทอัพไปด้วย ควบคุมอาหารไปด้วย (เช่น ลดข้าวลง 1 ใน 3 แล้วเติมผัก-เติมถั่วลงไป นั่งลง เคี้ยวอาหารช้าๆ ทุกมื้อ ฯลฯ) นอนให้พอ และออกแรง-ออกกำลังให้มาก เช่น ค่อยๆ เดินเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 30 นาที เมื่อแข็งแรงดีแล้ว ให้เดินเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 60 นาที จะแบ่งการเดินเป็นช่วงๆ ละ 10 นาทีขึ้นไป นำเวลามารวมกันก็ได้ ฯลฯ

Comments